วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

หลวงปู่เกลี้ยง วัดตะกู เจ้าตำรับ สายวิชาครูพ่อแก่



เจ้าตำรับ สายวิชาครูพ่อแก่ " ศาสตร์วิชาแรงครู " เมืองกรุงเก่าอยุธยา

'' พระครูเมตตาธิคุณ หรือ หลวงปู่เกลี้ยง วัดตะกู บางบาล ''


หลวงปุ่เกลี้ยง ท่านเป็นสาย ครูนาฏศิลป์ ครูปี่พาทย์ ลาดตะโพน ครูโขน ครูเทพ สายวิชาพ่อแก่ สืบสายวิชาจาก หลวงปู่เจียม วัดตะกู สายวิชาหนังใหญ่ (ครูหนัง)

............. " ศาสตร์ที่มากด้วยอิทธิฤทธิ์ แห่งแรงครูชั้นสูง " .......

นับเป็นของสูงของศักดิ์สิทธิ์ เพราะเวลานำจะทำการแสดง ต้องไหว้ครูและประพรมน้ำมนต์ จัดเครื่องบูชาหนังเจ้าหรือหนังครู ไหว้ตั้งโต๊ะวางเครื่องบูชาครู

หนังใหญ่เป็นมหรสพชั้นสูง ที่ใช้แสดงในพระราชพิธีต่าง ๆ ของในพระราชสำนักหรือในวัง ถ้าเป็นงานราษฎร์ชาวบ้านธรรมดาๆ จะต้องเป็นงานที่ใหญ่มาก คนที่สร้างต้องใหญ่โตจริงๆ ถึงมีสิทธิ์จัดได้

(เวลาไหว้ครูมหรสพ ชนิดอื่นๆ ที่จะแสดงรวมกันในงานสมัยก่อนนั้นถือกันมาก จะต้องมาร่วมคารวะกราบไหว้ ครูหนังใหญ่ก่อนเสมอ ถือว่าครูแรงสุด)

........#พิธีเบิกหน้าพระหรือการไหว้ครู ผู้บวงสรวงหนังใหญ่ จะนำหนังเจ้าหรือหนังครูทั้งสาม คือ ฤาษี ๑ พระอิศวรหรือพระนารายณ์ ๑ ทศกัณฐ์ ๑ รูปฤาษีเอาไว้ตอนกลาง รูปพระอิศวรหรือพระนารายณ์จะเอาไว้ทางขวามือ รูปทศกัณฐ์ไว้ทางซ้ายมือของคนไหว้ครู


เบื้องซ้ายข้าไหว้ทศกัณฐ์ เบื้องขวาอภิวันท์ สมเด็จพระรามจักรีและเงินกำนัลจากเจ้าภาพ ๒ สลึงเฟื้อง ปัจจุบัน ๑๒ บาท เทียนขี้ผึ้ง ๓ เล่ม หัวหมู ๒ หัว ไก่ ๒ ตัว บายศรีปากชาม กล้วยสุก ๒ หวี มะพร้าวอ่อน ๒ ผล เหล้า ๒ ขวด ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ไข่ต้ม ๒ ฟอง เมื่อได้เครื่องสังเวยครบแล้วบูชาครู อัญเชิญครูสังเวยเครื่องสังเวย

........#ผู้แสดงหนังใหญ่ทุกคนถือการไหว้ครูเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ถ้าการไหว้ครูไม่ได้ทำครบพิธีเขาจะไม่ยอมเล่นการแสดงตอนตาย ผู้เล่นถือกันว่าจะมีอันเป็นไป ถ้าทำผิดประเพณีการเล่นหนังดังกล่าว จึงไม่มีใครกล้าลองดี !!! เพราะ ครูแรง
      ต้องเชิญให้ครูหนังเป็นผู้เล่นและพากย์ ชาวคณะหนังใหญ่วัดขนอน เชื่อว่าครูหนังสิ้นชีวิตไปแล้วยังอยู่คุ้มครองรักษา ถ้าเคารพกราบไหว้จะเกิดมงคล แต่ถ้าผู้ใดทำผิดก็จะมีอันเป็นไป เพราะเคยมีผู้ขโมยหนังใหญ่หนีไปไม่สำเร็จ ต้องจมนํ้าตายในแม่นํ้าแม่กลอง หน้าวัด



หลวงปู่ผล วัดอินทาราม (ศิษย์หลวงปู่เกลี้ยง) เคยเล่าให้ฟังว่า

       ท่านมี ชื่อเสียงในด้านการอัญเชิญญาณฤาษี ทั้ง ๑๐๘ องค์ เทพ พรหม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ท่านมีชื่อเสียงขนาดได้รับนิมนต์ให้ไปปลุกเสกและตรวจสอบ ญาณทิพย์ในคราวงานไหว้ครูศิลปิน

            และจัดสร้างเหรียญไหว้ครูหรือเหรียญพ่อแก่ซึ่งเป็นเหรียญรูปพระฤาษีที่มีราคาเช่าหาแพงที่สุดในวงการ ของวัดพระพิเรนทร์ ย่านวรจักร กรุงเทพฯ ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มเพื่อนศิลปิน ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๓
เวลาศิษย์หลวงพ่อเกลี้ยงจัดพิธีไหว้ครู ครอบครูที่ไหน หลวงพ่อเกลี้ยง จะต้องให้หลวงปู่ผลไปด้วยทุกครั้ง เพื่อจับมงคลคล้องคอให้กับศิษย์ หลวงปู่ผลเล่าติดตลกว่า

ในงานไหว้ครูแต่ละครั้ง ศิษย์หลวงพ่อเกลี้ยง มีมากเหลือเกิน ต้องจับมงคลมากเป็นหลายร้อยเส้นเลยทีเดียว ไปงานไหว้ครูกับหลวงพ่อเกลี้ยงครั้งหนึ่ง ๆ เมื่อกลับมาถึงวัด ก็ปวดมือไปหลายวันเลยพานจะเบื่อไม่อยากไปกับหลวงพ่อเกลี้ยงอีกเลย

ในเรื่องลงเมตตามหานิยม ท่านก็เก่ง ขนาดศิษย์ท่านลงสาลิกาที่ฟัน พอยิ้มให้กอไผ่ กอไผ่ถึงกับแตกลั่นทั้งกอเลยทีเดียว วิชาพวกนี้ เป็นวิชาที่ต้องอาศัย "แรงครู"

........#หลวงปู่เกลี้ยง เรียนศาสตร์สายวิชาเกี่ยวกับศิลปะ ของไทยที่ซ่อนไว้ซึ่งแรงครู ท่านจึงเชี่ยวชาญชำนาญทางด้านนี้ นอกจากนี้ยังเชี่ยวชาญการทำพิธีเชิญญาณ พ่อแก่ ปู่ฤาษี ครูโขน ครูเทพ หรือมนต์พิธี ที่เกี่ยวกับบรมครูชั้นสูง เพราะศิลปะการแสดงสมัยก่อน ล้วนเกี่ยวข้องกับครูชั้นสูง โดยหลวงพ่อเกลี้ยง ท่านมรณะภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2530

ท่านสร้างเหรียญไว้ 7 รุ่น (เฉพาะเหรียญ)
รุ่น 1 สร้างปี 2512 เหรียญเสมา เศียรพ่อแก่หน้าหนุ่ม หลังกลองตะโพน
รุ่น 2 สร้างปี 2513 เหรียญเสมา เศียรพ่อแก่หน้าใหญ่ หลังกลองตะโพน
รุ่น 3 สร้างปี 2515 เหรียญเสมา เศียรพ่อแก่หน้าแก่ หลังกลองตะโพน
รุ่น 4 สร้างปี 2520 เหรียญหลวงปู่เกลี้ยง หลังพระสิวลี (รุ่นเดียวที่ไม่มีพ่อแก่)
รุ่น 5 สร้างปี 2521 เหรียญกลม เศียรพ่อแก่ หลังยันต์โภคทรัพย์
รุ่น 6 สร้างปี 2525 เหรียญหลวงปู่เกลี้ยง (หลังพ่อแก่ซ้อนตะโพน หน้าเอียง)
รุ่น 7 สร้างปี 2526 เหรียญหลวงปู่เกลี้ยง (หลังพ่อแก่ซ้อนตะโพน หน้าตรง)

แต่นอกจากเหรียญทั้ง 7 รุ่น ที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังมีวัตถุมงคลอย่างอื่น ที่ยังไม่ได้กล่าวอาทิ แหวน รูปถ่าย พระเนื้อดิน พระสมเด็จม้วน


                                   วัตถุมงคล ของหลวงปู่เกลี้ยง ทุกรุ่น ล้วนกล่าวได่ว่า  ต่างเป็นที่ต้องการเสาะแสวงหาของ
                                              ..................'' เหล่าบรรดา ลูกหลานพ่อแก่ ทั้งหลาย '' .......
ที่มา : พระเกจิอยุธยา / และขอบคุณภาพจากเพจ วัดตะกู 

ไม่มีความคิดเห็น: